1 สมการชีวิต

1 สมการชีวิต โดย ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

หมวดหมู่: สุขภาพ

ฟังตอนสุดท้าย:

ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไป

A: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น

ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้

1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง

- “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ

= ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม

= ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4

- เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

2. เจริญอิทธิบาท 4

(1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน

(2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ

(3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ

(4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า

- ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้

3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ

- "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา

- “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม

- “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่

(1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก

(2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี

(3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย

(4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์

(5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ

4. ลดความเครียดในการทำงาน

- วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น

- วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน

- วิธีที่ไม่ใช่การคลายความเครียด คือ ไปหากาม เช่น การเล่นโทรศัพท์

- “การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ” คือ การนำธรรมฉันทะมาเพื่อละกามฉันทะ

- เราต้องมีวิธีการลด ละความเครียดในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

โดยสรุป:

“ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จและสามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้ได้ โดยต้องเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง เจริญอิทธิบาท 4 คงไว้ซึ่งสมาธิ และลดความเครียดในการทำงาน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้”



Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

ตอนก่อนหน้า

  • 317 - ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u] 
    Sun, 17 Nov 2024 - 0h
  • 316 - การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u] 
    Sun, 10 Nov 2024 - 0h
  • 315 - ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาดและสมบัติ 3 ประการ [6745-1u] 
    Sun, 03 Nov 2024 - 0h
  • 314 - แก้อาการเสพติด Social Media [6744-1u] 
    Sun, 27 Oct 2024 - 0h
  • 313 - ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์ [6743-1u] 
    Sun, 20 Oct 2024 - 0h
ตอนมากแค่ไหน

ไทยพอดคาสต์มากขึ้น - สุขภาพ

พอดคาสต์ต่างประเทศมากขึ้น - สุขภาพ

เลือกประเภท Podcast